เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ราคเปยยาล
... เพื่อความสละคืนโทสะ ... โมหะ(ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ). ..
อุปนาหะ(ความผูกโกรธ) ... มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปลาสะ(ความตีเสมอ) ...
อิสสา(ความริษยา) ... มัจฉริยะ(ความตระหนี่) ... มายา(มารยา) ... สาเถยยะ(ความ
โอ้อวด) ... ถัมภะ(ความหัวดื้อ) ... สารัมภะ(ความแข่งดี) ... มานะ(ความถือตัว) ...
อติมานะ(ความดูหมิ่นเขา) ... มทะ(ความมัวเมา) ... ปมาทะ(ความประมาท) ...
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม 6 ประการนี้แล เพื่อความสละคืนปมาทะ
(31-510)
พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล

ราคเปยยาล จบ

สัตตกนิบาต จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :192 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.เมตตาวรรค 1.เมตตาสูตร
พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต

_____________

ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

1. ปฐมปัณณาสก์
1. เมตตาวรรค
หมวดว่าด้วยเมตตา
1. เมตตาสูตร1
ว่าด้วยอานิสงส์แห่งเมตตาเจโตวิมุตติ
[1] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสดังนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ2ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้
เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว พึงหวังได้
อานิสงส์ 8 ประการ

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ.เอกาทสก. (แปล) 24/15/425-426 และเทียบ ขุ.ป. (แปล) 31/22/467
2 เมตตาเจโตวิมุตติ หมายถึงเมตตาที่เกิดจากตติยฌานและจตุตถฌาน พ้นจากปัจจนีกธรรม (ธรรมที่เป็น
ข้าศึก) กล่าวคือนิวรณ์ 5 ประการ ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา
(องฺ.เอกก.อ. 1/17/42, องฺ.ฉกฺก.อ. 3/13/104) และดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/13/429

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :193 }